เปิดใช้แล้ว ! “โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ” ขนาดใหญ่ที่สุดในไทย สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ราคาซื้อจากการไฟฟ้า
หมดยุค “เสือนอนกิน” ต่อไปไฟฟ้าจะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ผลิตใช้ได้เอง ไม่ต้องซื้อจากส่วนกลางอีกแล้ว
– เอสซีจี รุกตลาดโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ เชิงพาณิชย์ เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย โดยเปิดตัวโครงการสาธิต 1 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าโรงงานในเครือ ด้วยต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ 2.50 บาทต่อหน่วย ต่ำกว่าราคาค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำหน่ายประมาณ1 บาทต่อหน่วย ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในหน่วยงานได้ประมาณ 5ล้านบาท ต่อปี
– บริษัทเห็นว่าพื้นที่ผิวน้ำในประเทศไทยมีประมาณ 14,600 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 9 ล้านไร่ หากนำพื้นที่เหล่านี้มาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะเกิดประโยชน์มากขึ้น ศักยภาพพื้นที่แหล่งน้ำในประเทศ ที่มีความพร้อมติดตั้งโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำมีถึง 500 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
– ระบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำผลิตไฟฟ้า จะกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจเกิดใหม่ (Emerging Business ) ของ เอสซีจี เคมิคอลล์ ที่จะตั้งบริษัทลูก เป็นผู้ดูแลธุรกิจดังกล่าวแบบครบวงจร ที่จะให้บริการทั้งการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง บำรุงรักษา ให้กับลูกค้า ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา3-4 ราย รวมถึงลูกค้ารายใหญ่ คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในโครงการโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.อยุธยา
– โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ที่ถือเป็นโครงการตัวอย่างที่สาธิตให้ดูนี้ มีขนาด1เมกะวัตต์ ขนาดลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 8 ปี เท่านั้น
– การพัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการติดตั้งบนพื้นดิน และบนหลังคา เนื่องจากอาศัยธรรมชาติของน้ำในการระบายความร้อน (cooling effect) และเป็นการต่อยอดจากธุรกิจปิโตรเคมี ด้วยการนำเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเกรดพิเศษมาออกแบบและพัฒนาเป็นทุ่นลอยสำหรับใช้กับแผงโซลาร์ ซึ่งติดตั้งง่าย รวดเร็ว และ ประหยัดพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำชนิดอื่น ๆ โดยโครงการโซลาร์ลอยน้ำสาธิต ขนาด1เมกะวัตต์ ของบริษัท นั้น ใช้พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์ เพียงประมาณ 72 เมตร คูณ 153 เมตร นอกจากนี้ ทุ่นลอยน้ำยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25 ปี ใกล้เคียงกับอายุการใช้งานของแผงโซลาร์
– เอสซีจี มีการติดตั้งระบบโซลาร์ผลิตไฟฟ้า ทั้งในส่วนของโซลาร์ฟาร์มที่ติดตั้งบนพื้นดิน โซลาร์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อป และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ไปแล้วประมาณ 30 เมกะวัตต์ โดยมีแผนที่จะติดตั้งอีก 120 เมกะวัตต์ ให้ครบ 150 เมกะวัตต์ ในปี 2563 นี้
-การบำรุงรักษา บริษัทได้เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับความปลอดภัยในการทำงานโดยใช้ “โดรน” (Drone) บินสำรวจและตรวจสอบค่าความร้อนโดยสามารถบันทึกภาพเพื่อนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซลาร์ได้ นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ดำน้ำ (Underwater Visualizer Robot) เพื่อตรวจสอบทุ่นและโครงสร้างที่อยู่ใต้น้ำด้วย
-ในปี 2561 นี้ กลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ ตั้งงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนากว่า 3,600 ล้านบาท เพื่อผลักดันงานวิจัยสู่ตลาดทั้งในระดับประเทศ อาเซียน และระดับโลก โดยมีการวิจัยและพัฒนาที่หลากหลายทั้งนวัตกรรมพลาสติก และ Non-Petrochemicals ส่วนการติดตั้งระบบโซลาร์ผลิตไฟฟ้า ทั้งในส่วนของโซลาร์ฟาร์มที่ติดตั้งบนพื้นดิน โซลาร์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อป และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในโรงงานของเครือเอสซีจี ทั้งในและต่างประเทศ นั้น มีการดำเนินการไปแล้วประมาณ 30 เมกะวัตต์ โดยมีแผนที่จะติดตั้งอีก 120 เมกะวัตต์ ให้ครบ150 เมกะวัตต์ ในปี 2563 นี้
อ้างอิง
เพจ เกษตรอัจฉริยะ – Smart Farm