ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Microinverter) ถูกออกแบบใช้งานในลักษณะตรงกันข้ามกับสตริงอินเวอร์เตอร์ หลายๆประเทศใช้งานกันอย่าแพร่หลาย และในประเทศไทยกำลังเริ่มใช้งานและจะกลายเป็นมาตรฐานงานติดตั้งในอนาคต โดยไมโครอินเวอร์เตอร์จะติดตั้งอยู่บริเวณใต้แผงโซล่าเซลล์ ระบบที่ใช้ไมโครอินเวอร์เตอร์จะแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ DC เป็นพลังงาน AC ทันทีตั้งแต่บนหลังคาของอาคารและเชื่อมต่อไฟ AC เข้ากับกับไมโครอินเวอร์เตอร์ตัวอื่นๆ ในแบบขนาน อีกทั้งโซล่าเซลล์แต่ละแผงยังทำงานอย่างอิสระต่อกัน สามารถมอนิเตอร์แยกได้ทุกแผง ช่วยทำให้โซล่ารูฟ (Solar Roof) ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยขึ้นอีกขั้น
ทำไมเราจึงควรเริ่มหันมาใช้ โซล่าเซลล์ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด และเทคโนโลยีนี้มันดีอย่างไรกับเราบ้าง
1) High Performance : เมื่อแผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟ ไมโครอินเวอร์เตอร์จะแปลงกระแสไฟฟ้าในแต่ละแผงแยกจากกัน แม้ว่าตัวแผงโซล่าเซลล์จะโดนเงาบัง หรือ เกิดความผิดปกติของแผงนั้นๆ จะไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้าของแผงอื่นๆ
2) Safety : เนื่องจากไมโครอินเวอร์เตอร์แปลงกระแสไฟฟ้าเป็นรายแผง จึงเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ หรือ Low Voltage ทำให้ปลอดภัยมากกว่า อีกทั้งยังมีระบบ Rapid Shutdown ซึ่งจะตัดการทำงานทันทีเมื่อเกิดความผิดปกติกับระบบ ด้วยความที่ระบบไฟกระแสตรงเป็นแรงดันต่ำ และระบบติดตั้งเป็นแบบ Plug&Play ทำให้การติดตั้งและซ่อมบำรุง ไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญเฉพาะเหมือนระบบดั้งเดิม ส่งผลให้การนำไปใช้เป็นไปด้วยความง่ายดาย ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณ
3) Monitoring : สามารถดูการทำงานของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ รวมถึงการผลิตไฟได้รายแผง สามารถตรวจวัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆและความผิดปกติในระดับแผงได้ ส่งผลให้สูญเสียโอกาสในการผลิตพลังงานลดลง
4) จากการที่ Micro-inverter มันมีความสามารถในการเริ่มผลิตไฟได้ตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 350 วัตต์ ซึ่งน้อยกว่าเตารีดที่ใช้ที่บ้านอีก เราจึงสามารถปรับขนาดของระบบให้เข้ากับ การใช้งานของครัวเรือน หรือบ้านแต่ละหลังได้ ไม่จำเป็นต้องลงทุนเริ่มตั้งแต่ 1000-2000 วัตต์ ซึ่งมีราคาเป็นหลักแสนบาท
5) วิธีการใช้งานระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้คุ้มค่า มากที่สุดคือการใช้ไฟจากโซล่าเซลล์ในช่วงกลางวันจากระบบโดยตรงให้หมดภายในบ้าน โดยไม่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ และไม่ส่งออกขาย หากแต่คนส่วนใหญ่ อย่างภาคครัวเรือนจะใช้ไฟกลางวันน้อยกว่ากลางคืนมาก ฉะนั้นโซล่าแบบดั่งเดิมจะมีขนาดใหญ่และผลิตพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ไว้เยอะมากทำให้ไม่เกิดความคุ้มค่า ฉะนั้นระบบ Micro-inverter ที่มีขนาดเล็กเริ่มต้นเพียง 350 วัตต์ จะมาตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้
6) Micro-inverter มีฟังก์ชั่น Anti-Islanding ในตัว (ระบบความปลอดภัยที่ตัดการทำงานเมื่อไม่มีไฟฟ้าในระบบโครงข่าย) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องติดอุปกรณ์ Gateway เหมือน Micro-inverter ทั่วไป
7) ราคาระบบโดยรวมไม่สูง เนื่องจากสามารถประหยัดค่าอุปกรณ์ประกอบ เช่น DC fuse, DC breaker, Surge protector, Combiner box, ระบบ monitoring และ อุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งค่าแรงติดตั้งที่ไม่ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพราะสามารถติดตั้งได้ง่ายรวดเร็ว ไม่ต้องมีการออกแบบการติดตั้งที่ซับซ้อน และไม่ต้องทำงานกับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง
8) สามารถเข้ากันได้กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายชนิดและขนาด จากที่ Micro-inverter มี MPPT ที่กว้างมากทำให้สามารถต่อกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้หลากหลายและสามารถผลิตพลังงานได้สูงสุด
9) สามารถนำไปใช้งานที่หลากหลาย จากขนาดที่เล็กของระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้ Micro-inverter จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ตั้งแต่ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ระบบ self-consumption ระบบ micro-grid และอื่นๆ
10) ในกรณีของไฟไหม้ สามารถทำการดับเพลิงได้ทันที เพราะระดับแรงดันฝั่งกระแสตรงน้อยกว่ามาตราฐานไฟฟ้าแรงดันสูง จึงไม่ต้องระวังเรื่องระบบไฟเป็นพิเศษและไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการดับไฟ
อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) คืออะไร
ระเบียบใหม่ของการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์บนหลังคา บังคับให้มีระบบ Rapid Shutdown โดย วสท. เริ่มแล้ว วันที่ 1 มิถุนายน 2565
วสท. คือใคร เกี่ยวข้องอะไรกับระเบียบนี้
วสท. คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีหน้าที่ในการจัดทำ, รับรอง, เผยแพร่มาตรฐานด้านวิศวกรรม พร้อมเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ รวมไปถึงทิศทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดมาตรฐานเดียวกันที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมให้ดำเนินงานด้านวิชาชีพวิศวกรรมโดยต้องคำนึงถึงผลกระทบของผู้ที่เกี่ยวข้อง, สังคม, และสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาที่เพิ่มเติมมาในระเบียบการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ตามมาตรฐาน วสท. มี 3 ข้อสำคัญดังนี้
1.เพิ่มมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้าสำหรับกักเก็บพลังงาน (Energy storage)
2.ขยายขอบเขตการใช้แรงดันไฟฟ้าต่อสตริง : บ้าน จาก 600 โวลต์ เป็น 1,000 โวลต์ และ โรงงาน จาก 1,000 โวลต์ เป็น 1,500 โวลต์
3.ติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown
อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) คืออะไร
มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าระดับโลกสำหรับระบบโซล่าเซลล์โดย National Electrical Code (NEC) ซึ่งเดิมบังคับใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2557 และเวอร์ชั่นอัพเดตล่าสุดในปี พ.ศ. 2563 (NEC 2020) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบโซล่าร์เซลล์ได้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสูงสุดเพื่อปกป้องผู้คนและทรัพย์สิน ระหว่างการติดตั้ง การบำรุงรักษา การทำงานของระบบต่อเนื่อง และระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน
อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) มีคุณลักษณะดังนี้
1.ลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array Boundary ให้ต่ำกว่า 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที หรือผ่านมาตรฐาน PV Hazard Control
- ลดแรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิลที่อยู่นอก Array Boundary ให้ไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที
- ติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังภายนอกบริเวณหน้าอาคาร (เพื่อให้สะดวกและปลอดภัยสำหรับนักดับเพลิง)
Microinverter Hoymiles
ไมโครอินเวอร์เตอร์ ฮอยไมล์ (Microinverter Hoymiles) เป็นยี่ห้อที่ผลิตจากประเทศจีน มีมาตรฐาน รองรับมากมาย รวมถึงผ่านลิสต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA และการไฟฟ้านครหลวง MEA มีลักษณะต่อแผงได้ถึง 4 แผง โดยใช้อินเวอร์เตอร์เพียงตัวเดียว (รุ่น HMS-2000) ต่อแผงขนาดกำลังวัตต์สูงสุดที่ 625W x 4 แผง สามารถติดอุปกรณ์กันย้อน และมีระบบ Sub-1G wireless
จุดเด่นของ ไมโครอินเวอร์เตอร์ ฮอยไมล์ (Microinverter Hoymiles HMS-2000)
1.ผ่านลิสต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA และการไฟฟ้านครหลวง MEA
2.รองรับมาตรฐาน Rapid Shutdown
3.เริ่มทำงานโวลท์ต่ำที่ 22 VDC
4.CEC peak efficiency 96.5%
5.Monitor รายแผง ทำให้ควบคุมการผลิตไฟฟ้ารายแผงได้เป็นอย่างดี
6.ความปลอดภัยสูง เนื่องจากแรงดันต่ำกว่า 48VDC
7.มีระบบ Sub-1G wireless ส่งสัญญาณได้ไกลกว่าระบบ 5G และ 2.4G (ในรุ่น HMS-2000)
8.ต่อได้ 4 แผงต่อ 1 Microinverter ทำให้ต้นทุนลดลง ได้กำลังไฟฟ้าสูง
9.ง่ายต่อการขยายระบบในอนาคต
10.รับประกัน Microinverter 12 ปี
Hoymiles Micro Inverter HMS-2000 รับประกันศูนย์ไทย 12 ปี
ผ่านการไฟฟ้า Rapid Shutdown
ราคา ฿13,900
สอบถามสั่งซื้อที่>> https://www.facebook.com/DiySolarCell
เครดิต
youtube.com/watch?v=_r_lbMqilQA