จากเมื่อก่อน แผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งตามบ้านเรือน ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะเมื่อโดนแสงอาทิตย์กระทบแผงเท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีแผงโซล่าเซลล์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้แม้จะมีฝนตก ส่วนสำคัญของระบบนี้คือ triboelectric nanogenerator หรือ เทคโนโลยี TENG ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Soochow ในประเทศจีน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สร้างประจุไฟฟ้าจากการเสียดสีของวัสดุสองชนิดถูกัน เช่นเดียวกับหลักการไฟฟ้าสถิตย์ – มันคือการขยับของอิเล็กตรอน

ระบบ TENGs สามารถสร้างพลังไฟฟ้าจาก รถยนต์ที่วิ่งบนถนน ที่ปูด้วยแผ่น triboelectric nanogenerator หรือในกรณีนี้ มีนำมาใช้กับแผงโซล่าเซลล์ โดยหลักการการกระทบของเม็ดฝน บนแผงโซล่าเซลล์
ในขณะที่แนวคิดของการใช้ TENGs เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ความท้าทายคือการพัฒนาระบบที่ไม่ซับซ้อนหรือใหญ่เกินไป เจ้าอุปกรณ์ใหม่นี้มีการผสานรวม TENG เข้ากับชั้นของแผงโซล่าร์เซลล์แบบเก่าอย่างแนบเนียน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ ขึ้นอีก 10% เลย ความท้าทายต่อไปคือการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าที่สามารถสร้างขึ้นเพื่อให้ทำงานได้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปอย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้
แต่ก็ต้องรอกันอีกนานกว่าที่แผงโซล่าร์เซลล์แบบใหม่จะมาติดตั้งที่บ้านของเรา โดยคุณ Zhen Wen ให้ข้อมูลว่า ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 5 ปี กว่าที่อุปกรณ์ตัวต้นแบบของ แผงโซล่าร์เซลล์ แบบใหม่นี้จะถูกสร้างออกมา และก็ต้องใช้เวลาอีกสักพักในการปรับปรุงและพัฒนากว่าจะที่ออกวางจำหน่ายได้ และเมื่อถึงเวลานั้นจริง แผงโซล่าร์เซลล์แบบลูกผสมนี้ก็อาจจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่านี้อีก
และคุณ Zhen Wen ยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า “อุปกรณ์ของเราอาจจะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแรงลมได้ด้วย ถ้าเราทำการดัดแปลงโครงสร้างของ TENG เนื่องจากมันสามารถแปลงพลังงานกลในธรรมชาติหลายรูปแบบ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้”
โครงการวิจัยนี้มีการตีพิมพ์ลงวารสาร Nano