แผงโซล่าเซลล์ที่เราคุ้นหูกันดี หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Photovoltaics module(PV module) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Solar module มีลักษณะด้านหน้าเป็นแผ่นใส ด้านในเป็นเซลล์โซล่าเซลล์หลายเซลล์ต่อเรียงกัน อาจจะมีสีที่แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของวัสดุโซล่าเซลล์ที่มาทำแผง มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไปแล้วแต่ขนาดของกำลังไฟฟ้า(วัตต์) ที่แผงผลิตได้ ขอบของแผงเป็นโลหะหรืออลูมิเนียมหุ้มไว้อย่างแข็งแรงและกันน้ำเข้า และมีไว้สำหรับยึดกับตัวจับสำหรับติดตั้งบนหลังคาหรือโครงรับแผง
ปัจจุบันมีหลายบริษัทได้เป็นผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ออกมามากมายหลายยี่ห้อ บางโรงงานผลิตออกมา เป็นสิบยี่ห้อ ร้อยยี่ห้อ (รับจ้าง OEM ให้ยี่ห้อต่างๆที่ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง) และเพื่อให้ลูกค้า สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับบ้านของตัวเอง จึงมีการติด Electrical Characteristics Solar Module หรือบ้านเราเรียกง่ายๆ ว่า “สเปคของแผงโซล่าเซลล์” แนบมากับตัวแผงโซล่าเซลล์ด้วย จึงทำให้รู้ว่าแผงโซล่าเซลล์แผงนี้จ่ายไฟ ได้กี่วัตต์ ได้กี่แอมป์ ต่อพ่วงกันได้สูงสุดกี่แผง เพื่อจะเลือกได้ถูกเวลานำไปออกแบบและคำนวณใช้งานจริงได้ โดยค่าต่างๆส่วนใหญ่ทุกบริษัทจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้
MODEL = รุ่นของแผงโซล่าเซลล์ รุ่นนี้คือ รุ่น SRM130P
Peak Power = ค่าวัตต์สูงสุดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แผงตัวนี้คือ 130 W
MAXIMUM POWER VOLTAGE = ค่าแรงดันที่กำลังไฟฟ้าสูงสุด (Maximum power voltage, Vmpp)มีหน่วยเป็น V คือค่าแรงดันไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุด แผงนี้เท่ากับ 17.96 V
MAXIMUM POWER CURRENT = ค่ากระแสที่กำลังไฟฟ้าสูงสุด (Maximum power current, Impp)มีหน่วยเป็น A คือ ค่ากระแสไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุด แผงนี้เท่ากับ 7.24 A
OPEN CIRCUIT VOLTAGE = ค่าแรงดันเปิดวงจร (Open circuit voltage, Voc)มีหน่วยเป็น V คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อวัดโดยไม่ได้ต่อภาระระหว่างขั้วบวกและลบ แผงนี้มีค่า 21.60 V
SHORT CIRCUIT CURRENT = ค่ากระแสลัดวงจร (Short circuit current, Isc)มีหน่วนเป็น A คือ ค่ากระแสไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อวัด
โดยการลัดวงจรขั้วบวกและลบเข้าหากัน แผงนี้เท่ากับ 7.83 A
MAXIMUM SYSTEM VOLTAGE = ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่แผงโซล่าเซลล์จะต่อในระบบได้ (หมายถึงต่อพ่วงกันได้หลายๆ แผง) แผงนี้เท่ากับ DC 1000 V
At STC = ที่สภาวะทดสอบมาตรฐาน (Standard Test Condition, STC) ที่พลังงานแสงที่ตกกระทบ 1,000 วัตต์/ตร.ม สเปคตรัมของแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศหนา 1.5 เท่า (Air mass = 1.5) และ ที่อุณหภูมิ 25°C
Product By = แผงโซล่าเซลล์นี้ยี่ห้อ NS ผลิตโดย บ.Northerm sunshine จำกัด
ทีนี้เราก็รู้แล้วว่าแผงนี้จ่ายไฟได้กี่วัตต์ กี่แอมป์ เรายังต่อพ่วงแผงนี้ แบบอนุกรมได้ สูงสุดถึง 55 แผง คิดจาก MAXIMUM SYSTEM VOLTAGE =1000 v DC /Maximum power voltage 17.96 = 55.68 หรือประมาณ 55 แผง เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบคำนวณระบบโซล่าเซลล์ที่เราจะติดตั้งใช้งานต่อไป
วิธีการคำนวณ สูตรคํานวณแบบง่าย โซล่าเซลล์ | Diy Solar Cell
May 15, 2017 at 8:08am[…] ไม่รู้ว่าจะใช้ แผงโซล่าเซลล์ขนาดกี่วัตต์ […]
admin
October 20, 2017 at 2:47pmดูวิธีคำนวณแผงโซล่าเซลล์แบบบ้านๆ เลยครับ http://www.diysolarcell.com/calculate-solar-cell-system-%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%93%e0%b9%82%e0%b8%8b%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%8c/
ระบบโซล่าเซลล์ไฟฟ้าแสงสว่าง LED 1 หลอด - Diy Solar Cell
May 14, 2018 at 8:14am[…] LED 12 V เมื่อไม่มีแสงมากระทบแผงโซล่าเซลล์ของเรา […]
คอนโทรลชาร์จ แบบ MTTP กับ PWM ต่างกันอย่างไง? - Diy Solar Cell
May 16, 2018 at 7:28am[…] Imp บอกที่ สเปคแผงโซล่าเซลล์ อยู่แล้วว่าเท่าไหร่ ถ้าค่า Imp […]
Arnon Jailangka
November 7, 2020 at 6:27amขอบคุณมากเลยครับ กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่พอดีเลย เป็นประโยชน์มากเลยครับ